วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561

อสีติมหาสาวก


 
พระอสีติมหาสาวก 
พระอสีติมหาสาวก
เป็นเรื่องเดิมของพระมหาสาวกตั้งแต่แรก ปรารถนาสาวกภูมิในอดีตชาติ จนถึงที่ท่านเหล่านั้นปรินิพพาน ส่วนจำนวนพระมหาสาวกที่เรียกว่า พระอสีติมหาสาวก อันแสดงว่ามีอยู่ 80 องค์ นั้น จะมีมาในพระคัมภีร์ที่เป็นหลักฐานในที่ใดนั้น ยังไม่ปรากฎแน่ชัด บางฉบับอ้างว่ามาในเถรคาถาบ้าง อปทานบ้าง หนังสือที่เป็นหลักฐานแต่เรื่องเอตุทัคคะที่มีในคัมภีร์ เอกนิบาต อังคตรนิกายนั้นมีจำนวน พระสาวกนับได้ 41 องค์เท่านั้น หาครบ 80 ไม่ ส่วนพระสาวก 80 องค์นั้น เห็นมีในหนังสือสวกมนต์ ผูกเป็นคาถาบ้าง เป็นนามเรียกกันไปบ้าง นอกจากนี้ยังเห็นมีที่จารึกแผ่นศิลาติดอยู่ที่รูปพระอสีติมหาสาวก ที่พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม และวัดเขมาภิรตาราม แต่ไม่ใคร่ตรงกัน มีต่าง ๆ นามกันไปสุดแต่ครบ 80 องค์ เท่านั้น เว้นแต่องค์ที่สำคัญเป็นที่รู้จักกันดี จะมีอยู่เหมือนพ้องต้องกันหมดทุกแห่ง จำนวนพระสาวกที่มีในสวดมนต์แปลและในฉบับอื่นอีกนั้น ก็ผิดเพี้ยนกันไปอีกไม่น้อย 
สาระเรื่องมีอยู่มาก และมีข้อที่เป็นอรรถธรรมอยู่มาก นับเป็นสารประโยชน์ในตัวเองเรื่อง อันจะอำนวยผลให้แก่ผู้ได้สดับตามที่ควรต่อไป

"เอตทัคคะ"
เอตทัคคะ เป็นตำแหน่งทางพุทธศาสนา ที่พระบรมศาสดาได้ประทานแต่งตั้งให้พุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้มีความรู้ความสามารถเด่นกว่าท่านอื่นๆ ในด้านนั้นๆ และแต่ละตำแหน่ง พระพุทธองค์ประทานแต่งตั้งเพียง รูปเดียว ท่านเดียวเท่านั้น
เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา :: หมวด ภิกษุ (ทั้งหมด 41 ท่าน)
เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา :: หมวด ภิกษุณี (ทั้งหมด 13 ท่าน)
เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา :: หมวด อุบาสก (ทั้งหมด 10 ท่าน)
เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา :: หมวด อุบาสิกา (ทั้งหมด 10 ท่าน)
เหตุผลที่พระพุทธองค์ทรงยกย่องพุทธบริษัททั้ง 4 ไว้ในตำแหน่ง คือ
1. ได้รับการยกย่อง ตามเรื่องที่เกิดขึ้น (อัตถุปปัตติโต) ได้แสดงความ สามารถให้ปรากฏโดยสอดคล้อง กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
2. ได้รับการยกย่อง ตามที่ได้สะสมบุญมา ในอดีตชาติ (อาคมันโต) ได้สร้างบุญสะสมในด้านนั้นมาตั้งแต่อดีตชาติ พร้อมทั้งตั้งจิตปราถนา เพื่อบรรลุตำแหน่งนั้นด้วย
3. ได้รับการยกย่อง ตามความเชี่ยวชาญ (จิณณวสิโต) มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องเป็นพิเศษ
4. ได้รับการยกย่อง ตามความสามารถเหนือผู้อื่น (คุณาติเรกโต) มีความสามารถในเรื่องที่ทำ ให้ได้รับตำแหน่งเอตทัคคะเหนือกว่าผู้อื่น ที่มีความสามารถอย่างเดียวกัน
- - - - - - - - - - - - - - - - - -
"เอตทัคคะ 41 รูป"
พระสาวกเด่นๆ ด้านใดนั้น เรียกว่า เอตทัคคะ-ที่ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้า มีเพียง 41 รูปเท่านั้น ถือว่ามีความสามารถเป็นเลิศ เฉพาะด้านต่างๆ ดูเหมือนว่าจะเป็นตัวแทนของ พระพุทธเจ้าในด้านต่างๆ นั้นได้
1.พระอัญญาโกณฑัญญะ-เอตทัคคะในทางรัตตัญญู หมายถึง ผู้ราตรีนาน (พระภิกษุผู้เฒ่า)
2.พระอุรุเวลกัสสปเถระ-เอตทัคคะในทางผู้มีบริวารมาก
3.พระสารีบุตร-เอตทัคคะในทางผู้มีปัญญา
4.พระมหาโมคคัลานเถระ-เอตทัคคะในทางผู้มีฤทธิ์ (อิทธิฤทธิ์-ปาฏิหาริย์)
5.พระปุณณมันตานีบุตรเถระ-เอตทัคคะในทางผู้เป็นพระธรรมกถึก (ผู้แสดงธรรม)
6.พระกาฬุทายีเถระ-เอตทัคคะในทางผู้นำตระกูลให้เลื่อมใส
7.พระนันทเถระ-เอตทัคคะในทางผู้สำรวมอินทรีย์ (ตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย-ใจ)
8.พระราหุลเถระ-เอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา
9.พระอุบาลีเถระ-เอตทัคคะในทางผู้ทรงพระวินัย
10.พระภัททิยเถระ-เอตทัคคะในทางผู้เกิดในตระกูลสูง
11.พระอนุรุทธเถระ-เอตทัคคะในทางผู้มีทิพยจักษุญาณ
12.พระอานนท์-เอตทัคคะในทางผู้เป็นพหูสูตร เป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีคติ เป็นผู้มีความเพียร และเป็นพุทธอุปัฏฐาก (5 ประการ)
13.พระโมฆราชเถระ-เอตทัคคะในทางผู้ยินดีในจีวรเศร้าหมอง
14.พระปิณโฑลภาระทวาชเถระ-เอตทัคคะในทางผู้บันลือสีหนาท (กล้าหาญในการประกาศวาจาองอาจยิ่ง แม้ต่อหน้าพระพุทธเจ้าในความเป็นพระอรหันต์ของตน ถึงพร้อมสมบูรณ์ด้วยสติ-สมาธิ-ปัญญา สามารถแสดงฤทธิ์ได้เทียบเท่าพระมหาโมคคัลลานเถระ)
15.พระมหากัจจายนเถระ-เอตทัคคะในทางผู้อธิบายความย่อให้พิศดาร
16.พระสีวลี-เอตทัคคะในทางผู้มีลาภมาก
17.พระโสณกุฏิกัณณเถระ-เอตทัคคะในทางผู้มีวาจาไพเราะ
18.พระมหกัสสปเถระ-เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์
19.พระราธเถระ-เอตทัคคะในทางผู้ว่าง่าย
20.พระลกุณฏกภัททิยเถระ-เอตทัคคะในทางผู้พูดเสียงไพเราะ
21.พระทัพพมัลลบุตรเถระ-เอตทัคคะในทางผู้จัดเสนาสนะ
22.พระพากุลเถระ-เอตทัคคะในทางผู้ไม่มีโรคาพยาธิ
23.พระวักกลิเถระ-เอตทัคคะในทางศรัทธาวิมุตติ (หลุดพ้นจากกิเลสด้วยศรัทธา)
24.พระมหากัปปินเถระ-เอตทัคคะในทางผู้ให้โอวาทพระภิกษุ
25.พระอุปเสนเถระ-เอตทัคคะในทางผู้นำมาซึ่งความเลื่อมใส
26.พระเรวตขทิรวนิยเถระ-เอตทัคคะในทางผู้อยู่ป่า
27.พระสุภูติเถระ-เอตทัคคะในทางอรณวิหารและทักขิเณยยบุคคล (เจริญฌานประกอบด้วยเมตตา และเป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน)
28.พระพาหิยเถระ-เอตทัคคะในทางขิปปาภิญญา (ตรัสรู้เร็วพลัน)
29.พระวังคีสเถระ-เอตทัคคะในทางผู้มีปฏิภาณ
30.พระโสณโกฬิวิสเถระ-เอตทัคคะในทางผู้ปรารภความเพียร
31.พระโสภิตเถระ-เอตทัคคะในทางระลึกปุพเพนิวาสานุสติญาณ (ระลึกชาติเก่าๆในอดีตกาลได้เสมอกับพระพุทธเจ้า)
32.พระนันทกเถระ-เอตทัคคะในทางผู้ให้โอวาทภิกษุณี
33.พระกังขาเรวตเถระ-เอตทัคคะในทางผู้เพ่งด้วยฌาน
34.พระมหาปันถกเถระ-เอตทัคคะในทางผู้เจริญวิปัสสนา
35.พระจูฬปันถกเถระ-เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ)
36.พระกุณฑธานเถระ-เอตทัคคะในทางผู้จับสลากเป็นที่หนึ่ง
37.พระรัฐบาลเถระ-เอตทัคคะในทางผู้บวชด้วยศรัทธา
38.พระกุมารกัสสปเถระ-เอตทัคคะในทางผู้แสดงธรรมอันวิจิตร
39.พระมหาโกฏฐิตเถระ-เอตทัคคะในทางผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา 4 (แตกฉานในอรรถ-ในธรรม-ในนิรุตติ (ภาษา)-ในปฏิภาณ)
40.พระสาคตเถระ-เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญเตโชสมาบัติ (ไฟ)

41.พระปิลินทวัจฉเถระ-เอตทัคคะในทางผู้เป็นที่รักใคร่ของเทพยดา
- - - - - - - - - - - - - - - - - -
อ้างอิง : หนังสือ "เอตทัคคะ ในพระพุทธศาสนา" โดยพระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์ (สมาน พรหมอยู่ / กัลยาณธัมโม)
เว็บไซต์ : 84000.org; dhammathai.org 
รูปภาพ : จากเวบไซต์ 84000 พระธรรมขันธ์

........................................
รายชื่อพระอนุรุทธะที่ใช้ทำเว็บ
https://www.gotoknow.org/posts/619894